Top 10 โรคร้ายเสี่ยงตาย
สูงสูดของคนไทย
เพราะชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป
โรคร้ายที่ทุกวันนี้มีเพิ่มมากขึ้นในสังคม
เป็นเพราะพฤติกรรมเสี่ยง ที่คนในสังคมสร้างขึ้นมาเองทั้งสิ้น ซึ่ง 10 โรคร้ายที่เป็นโรคเสี่ยงตาย ของคนไทยในยุคปัจจุบันนี้
ล้วนแต่เป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดปกติไป
จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังด้านสุขภาพ
และเป็นภัยเงียบที่สามารถคร่าชีวิตคนไทยไปได้หลายล้านคน
แม้ว่าโรคเหล่านี้จะมีชื่อเป็นที่รู้จัก และรักษาได้ แต่ก็ไม่ควรที่จะประมาท
เพราะอย่างน้อยการป้องกัน ก็ย่อมดีกว่ามารักษาในภายหลัง
1. มะเร็งร้ายครองอันดับ 1
ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดใด มะเร็งลำไส้, มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งเต้านม ก็ล้วนแล้วแต่คร่าชีวิตคนไทยมาแล้วนักต่อนัก สถิติการเป็นมะเร็งของคนไทยนั้นเพิ่มสูงขึ้นถึง 70,000 คน และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ มะเร็งยังครองแชมป์การเป็นโรคที่มีคนเป็นมากที่สุดในประเทศ อันดับที่ 1 ถึง 5 ปีซ้อน และมีผู้เสียชีวิตไปด้วยโรคนี้ถึงปีละ 50,000 คนอีกด้วย
โดยมะเร็งยอดฮิตที่พบมากที่สุด โดยอันดับ 1 ของมะเร็งคือ มะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งลำไส้ใหญ่และปอด ( อ้างอิงจากผลวิจัยปี 2546 ) ซึ่งโรคเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นโรคจากการใช้ชีวิตประจำวันแบบผิด ๆ ของคนในยุคสมัยใหม่ โดยมีทั้งการรักษาทางการแพทย์ การรักษาโดยวิถีสมุนไพร หรือแม้แต่การดูแลสุขภาพแบบชีวจิต ก็ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีการรักษามะเร็ง ที่ล้วนแล้วแต่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อรักษา และป้องกันการเป็นมะเร็งทั้งสิ้น
2. โรคหลอดเลือดหัวใจ
สาเหตุของโรค เกิดจากการที่ไขมันไปจับ หรือเกาะผนังของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
จนตีบและแคบลง ทำให้หลอดเลือดมีอาการอักเสบ ร่างกายจึงต้องส่งเม็ดเลือดขาวมาทำการซ่อมแซม
ก็ยิ่งทำให้เม็ดเลือดเหล่านี้ เข้าไปอุดตันทางเดินเลือด
จนเลือดไม่อาจถูกส่งไปเลี้ยงหัวใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด
ส่งผลให้หัวใจยุดเต้นอย่างเฉียบพลัน และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
ถ้าไม่อยากเป็นโรคนี้ หรือลดอาการของโรคลง
ก็ควรต้องหันกลับมาดูแลสุขภาพของตัวเองซะใหม่ ทานอาหารที่มีประโยชน์
เน้นอาหารไขมันต่ำ, ผักและผลไม้
พร้อมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าใครมีปัญหาของโรคเกิดขึ้นแล้ว
ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา และรับคำแนะนำในการรักษาตัวเองที่ถูกต้อง
3. โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน คือโรคที่ร่างกายสร้างฮอร์โมนอินซูลินมามาก
จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ
ร่างกายจึงไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม และตับอ่อนทำงานได้อย่างไม่เต็มที่
จนไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้งานได้ หรือใช้งานได้น้อย จนทำให้น้ำตาลค้างอยู่ในเลือดสูง
เบาหวานแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เบาหวานชนิดที่ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง หรือที่เรียกกันว่า
โรคภูมิต้านทานตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune) ส่วนอีกชนิดนึงคือ
เบาหวานที่ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นมาจากพันธุกรรม และเป็นเบาหวานชนิดที่คนเป็นมากที่สุด
ผู้ที่เป็นเบาหวานในเบื้องต้น
จะมีอาการปัสสาวะบ่อย และมีสีเข้มซึ่งถ้าปล่อยไว้สักพัก จะมีมดมาตอมที่ปัสสาวะ
มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย, ดื่มน้ำเยอะ หิวน้ำบ่อย, เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ, เป็นแผลแล้วหายยาก
เป็นแผลง่าย และเกิดอาการชาตามมือ ตามเท้า หรือส่วนอื่น ๆ
ของร่างกายได้ง่ายและถี่ขึ้น
การรักษา มีทั้งการฉีดอินซูลินเข้าไป เพื่อกระตุ้นให้ตับอ่อนสร้างอินซูลิน
และการดูแลชีวิต ที่ต้องควบคุมอาหารที่มีไขมัน และน้ำตาลสูง, ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ, ควรเช็คน้ำตาลในเลือดทุกวัน, งดอาหารเค็ม และพบแพทย์ตามนัดเสมอ
4. โรคความดันโลหิตสูง
หรือโรคภาวะความดันโลหิตสูง
โดยมีความดันสูงถึง 140/90 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป
โดยที่ความดันของคนปกติจะอยู่ที่ 90-119/60-79 มิลลิเมตรปรอท
ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
ชนิดแบบที่ไม่ทราบสาเหตุ (Essential
hypertension) ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร พบได้สูงถึง 90
- 95% ของผู้ป่วยโรคนี้
เชื่อว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันของเอ็นไซม์ ฮอร์โมน และต่อมต่าง ๆ
ที่ต้องควบคุมความดันในร่างกาย ทำงานไม่สอดคล้องกัน หรือผิดปกติไป ไม่ก็อาจจะเกิดจากพันธุกรรม, เชื้อชาติ, การทานอาหารที่มีรสเค็ม
และสมดุลของเกลือแร่ แคลเซียมทำงานไม่สมดุลกัน
ชนิดแบบทราบสาเหตุ
(Secondary hypertension) พบแค่ 5 - 10% ของผู้ป่วย เกิดจากโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อหลอดเลือด ต่อหัวใจ
และสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ที่พบบ่อยคือ โรคไตเรื้อรังจากการติดสุรา, เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต และเนื้องอกในสมอง นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน, โรคอ้วน หรือแม้แต่การทายาสเตียรอยด์บางชนิด
ก็สามารถทำให้เป็นโรคนี้เช่นกัน
ถ้ามีอาการมึนหัว, วิงเวียนศีรษะ, สับสน, เจ็บหน้าอก, ใจสั่น เหงื่ออกมาก และปวดศีรษะมาก
ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะนั่นอาจเป็นอาการเริ่มต้น ของโรคความดันโลหิตสูงได้
ควรจำกัดแป้ง น้ำตาล ไขมัน และอาหารเค็ม, ออกกำลังกาย, ลดความเครียดลง, ไม่สูบบุหรี่ เลิกสุรา, และรีบพบแพทย์ทันที่เมื่อมีอาการ
5. วัณโรคที่มากับอากาศ
โรคปอดอักเสบ
เป็นโรคระบบทางเดินหายใจชนิดเดียวกัน ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า
มายโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลสิส (Mycobacterium tuberculosis) ซึ่งมีแนวโน้มของผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มสูงขึ้นถึงปีละ 70%
ในปี 2549 ตรวจพบผู้ป่วยวัณโรค 58,639 คน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 15 - 44 ปี
โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง และสามารถติดต่อสู่คนอื่นได้ง่าย
โดยเฉพาะจากสารคัดหลั่งต่าง ๆ ที่ออกจากร่างกาย
และผู้ที่เป็นนั้นมักจะทรุดลงได้เร็วถ้ามีการสูบุหรี่, ดืมเครื่องดื่มแอลกฮอล์จัด
หรือในผู้ที่เป็นโรคร้ายก็จะมี
วัณโรคเป็นโรคแทรกซ้อนได้ง่าย ๆ อาการของผู้ที่เป็นวัณโรคจะไอแห้ง ติดต่อกันเกิน 3 สัปดาห์ และมีเลือดปนออกมาด้วย นอกจากนี้ ในบางรายอาจมีอาการอ่อนเพลีย หรือไข้ร่วมด้วย แต่ผู้ที่เป็นระยะแรก ๆ มักจะไม่ค่อยแสดงอาการมากนัก เบื่ออาหาร น้ำหนักลดมาก, แน่นและเจ็บหน้าอกทุกครั้งที่ไอ ถ้าต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคนี้ ก็ให้จัดสถานที่ให้โล่งโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่คลุกคลีหรือสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง และในคนที่เป็นก็ควรไปรับยาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านไปที่ที่มีคนเยอะ เพื่อลดการติดเชื้อ และการแพร่เชื้อสู่คนอื่น
ในการรักษา ระยะแรกผู้ป่วยต้องไปรับยาอย่างสม่ำเสมอติดต่อกัน 6 เดือน อาการก็จะดีขึ้นจนอาจหายป่วยได้ แต่ถ้าไม่รับยาตามนัด จะก่อให้เกิดเชื้อดื้อยา และต้องทานยาใหม่ที่มีราคาสูงขึ้น และใช้เวลาถึง 18 เดือนในการรักษา เพราะฉะนั้นจึงควรที่จะไปรับการรักษา ตั้งแต่ต้นที่ตรวจพบ และทานยาตลอดจนอาการดีขึ้น
6. โรคปอดเรื้อรัง
โรคปอดเรื้อรังสามารถกลายเป็นโรคถุงลมโป่งพอง
ที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ เข้ามาอยู่ในชั้นเยื่อบุ
และชั้นใต้เยื่อบุมากขึ้น ต่อมผลิตเมือกที่อยู่ใต้ชั้นเยื่อบุจะมีขนาดใหญ่ขึ้น
และผลิตเมือกเข้าสู่หลอดลม
จนทำให้เซลล์ที่ทำหน้าที่กวัดกวาดสิ่งสกปรกโดนเมือกเคลือบ
แล้วนำพาเอาเมือกจากจุดอื่น ๆ เข้าสู่หลอดลมอย่างล้นหลาม
และถุงลมก็จะถูกทำลายจนหายไป
สาเหตุหลัก เกิดจากการสูบบุหรี่, การหายใจเอาละอองสารเคมีเข้าไปนาน
ๆ จนเกิดการสะสม, มลภาวะในอากาศ และโรคทางพันธุกรรมบางชนิด
ก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมาจากผู้ที่สูบบุหรี่
เพราะสารพิษในควันบุหรี่จะเข้าไปทำลายเนื้อปอด และหลอดลม ซึ่งในยุคปัจจุบัน
คนนิยมสูบบุหรี่กันเยอะขึ้น และเป็นโรคนี้กันมากขึ้นไปด้วย มีอาการหน้าอกบวมปูด, เหนื่อยง่าย แค่เดินก็เหนื่อยได้, หายใจมีเสียง
ถ้ารักษาหรือดูแลตัวเองไม่ดี ก็อาจจะเกิดภาวะหายใจล้มเหลวจนเสียชีวิต
ควรดูแลตัวเอง ด้วยการงดสูบบุหรี่เพื่อตัวเองและคนในบ้าน, หลีกเลี่ยงการสูดดมควันพิษต่าง
ๆ จากมลภาวะรอบข้างก็ด้วย, และควรไปพบแพทย์ทันที
เมื่อมีอาการผิดปกติของการหายใจ
7. โรคภูมิแพ้
ภูมิแพ้ที่มีหลากหลายชนิด สาเหตุมาจากอาการแพ้ต่อสารต่าง ๆ
แม้กระทั่งอากาศและอาหาร ที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังต่อเยื่อบุต่าง ๆ ในร่างกาย
ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรม และสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา มีหลากหลายอาการ
เพราะอาการแพ้อาจเกิดแทบจะทุกส่วนของร่างกาย ทั้งการจาม, หายใจลำบากในเวลากลางคืน
- ภูมิแพ้อากาศ
อาการผื่นคันขึ้นตามร่างกายเมื่อทานอาหารที่ร่างกายไม่ชิน
- ภูมิแพ้ผิวหนัง
อาการปวดท้องรุนแรง, ขับถ่ายผิดปกติ
- ภูมิแพ้ในระบบทางเดินอาหาร
- ภูมิแพ้แบบผสม
ส่วนใหญ่อาการจะเกิดเมื่อเจอสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย
เพราะในปัจจุบันไม่ว่าจะอาหาร
หรืออากาศก็ล้วนแล้วแต่มีสิ่งแปลกปลอมเจือปนด้วยกันทั้งนั้น
คนที่เป็นโรคนี้จึงมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี
ในเบื้องต้นควรดูแลตัวเองโดยการนอนหลับ และตื่นให้เป็นเวลา, ออกกำลังกาย, รับประทานอาหารที่สดใหม่เสมอ, ที่นอน หมอน และผ้าห่มต้องซักให้สะอาดอยู่ตลอด, หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการ เช่น อาหารทะเล, ขนมปัง, นมวัว เป็นต้น
และเมื่อมีอาการให้หายาต้าน "ฮีสตามีน" เช่น คลอเฟนนิรามิน
ก็จะแก้อาการเบื้อต้นได้ แต่ถ้าอาการหนักขึ้นก็ให้หยุดยา แล้วพบแพทย์ทันที
8. โรคระบบประสาทจิตเวช
เพราะชีวิตที่ยังคงต้องดิ้นรนเพื่อให้ชีวิตรอด
การทำงานจึงมีความกดดัน และความเครียดค่อนข้างสูง จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคระบบจิตเวช
มีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้ยังรวมประเภทของคนที่ทานยาลดความอ้วน, ยาระงับประสาท หรือผู้ที่เป็นมาโดยกำเนิด
คนที่เป็นโรคนี้จะมีพฤติกรรมที่เหมือนกับคนปกติ
ทำให้มองไม่ค่อยออกว่าใครเป็น แต่อาจทำอะไรที่ร้ายแรงขึ้นเมื่อเกิดการกดดัน
หรือรับเอาความเครียดมาก ๆ ในบางรายก็เกิดจาการขาดยาที่ได้รับเป็นประจำ ผู้ป่วยสามารถอยู่ร่วมกับคนปกติได้
เพียงแต่อาจจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยคนในบ้าน, ลดความเครียดลงโดยการพูดคุย ปรับทุกข์กับคนใกล้ชิด, ถ้ารู้สึกกดดันให้เอาตัวเองออกจากสถานการณ์นั้นโดยทันที
และในรายที่มีอาการผิดแปลกจนถึงขั้นอาละวาด ให้เรียกศูนย์ช่วยเหลือเพื่อมารับตัวไปพบแพทย์
และวินิจฉัยอาการกันต่อไป
9. โรคระบบกล้ามเนื้อ
เส้นเอ็นอักเสบ
ไม่ว่าจะเกิดจากการก้มดูโทรศัพท์, การทำงานหน้าจอคอม หรือการเล่นกีฬา
และจะปวดรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการถูกกระตุ้น ถ้าในคนปกติไม่มีอาการปวด
แต่คนที่เป็นจะปวด และเมื่อเกิดอาการปวดจริงจัง ก็จะปวดมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า เมื่อเป็นแล้วอาการเริ่มหนักขึ้น ก็จะพ่วงเอาสารพัดโรคทางจิตมาด้วย
คือ โรคซึมเศร้า, วิตกกังวล, นอนไม่หลับ และอ่อนเพลีย ผู้ที่เป็นสังเกตได้ง่าย ๆ คือ
จะมีอาการบวมตามข้อมือ ข้อเท้า, ไวต่อเสียงและแสง, ปวดศีรษะมากในช่วงเช้า, ปัสสาวะบ่อย, ปวดท้องเรื้อรัง และท้องเสียง่าย ติดต่อกันเป็นเวลานาน 3 เดือน และถ้ามีอาการปวดหัวรุนแรงขึ้นก็ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
แนวทางในดูแลตัวเอง คือ งดเล่นโทรศัพท์ และจ้องจอคอมสักพัก พร้อมทั้งลดความเครียดจากงานลง
ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเพื่อบริหารจุดที่ปวดแบบเบา ๆ
และพยายามนอนให้ตรงเวลาเสมอ
10. โรคอ้วน
และน้ำหนักตัวเกิน
โรคอ้วนก็เป็นอีกโรคที่คนไทยนิยมเป็นกันมาก
เพราะด้วยการบริโภคที่ง่ายขึ้น และการทำงาน
หรือใช้ชีวิตแบบคนสมัยใหม่ที่ต้องทำงานตลอดเวลา
จนไม่ได้ให้ความสนใจต่อการออกกำลังกาย หรือในรายที่เป็นโดยกำเนิด
เพราะร่างกายเผาผลาญพลังงานได้น้อยกว่าคนปกติ และอาจจะเป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิดอีกด้วย
โรคอ้วนนี้ยังเป็นสาเหตุต้น ๆ ของโรคเบาหวาน, ความดัน, ภาวะหยุดหายใจเฉียบพลัน และอีกหลาย ๆ โรคร้าย
เมื่อมีน้ำหนักที่เกินกว่าความสูงค่อนข้างมาก
ลำตัวเริ่มหนา และมีอาการหายใจลำบาก นั่นคือสัญญาณว่าควรที่จะต้อง
เริ่มลดความอ้วนแบบจริงจัง ก่อนที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนอันตรายอื่น ๆ ตามมา
ควรที่จะลดน้ำหนักให้ได้ 10% ภายใน 6 เดือน เพื่อไม่ให้อันตรายและหักโหมไป
ตัวเลขนี้จึงถือว่าเหมาะสมแก่คนที่ต้องการลด, ดูแลอาหารการกินที่ต้องเพิ่มอาหารไขมันต่ำ
ลดอาหารไขมันสูง เพิ่มผักและผลไม้, ลดการใช้ชีวิตแบบคนสมัยใหม่, ลดความเครียด แล้วหันมาออกกำลังกายให้บ่อยขึ้น
และในรายที่มีอาการอ้วนมากเกินไป จนไม่สารถลดได้เอง
แพทย์ก็อาจวินิจฉัยเพื่อทำการผ่าตัด ลดกระเพาะอาหารลงได้
ภัยเงียบที่ซ่อนตัว
อยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดเพี้ยนไป อย่าได้ละเลยหรือคิดว่ายังมาไม่ถึง
เพราะเราสามารถเป็นได้ทุกเมื่อที่เราไม่ดูแลตัวเองให้ดี และไม่ใส่ใจในสุขภาพ, อาหารการกิน หรือแม้แต่การเป็นอยู่ ที่ต้องสะอาดและถูกหลัก
เพราะถ้าเราใส่ใจก็จะสามารถลดความเสี่ยงต่อ 10 โรคนี้
เพื่อที่จะได้เป็นแบบอย่างแก่ผู้ที่กำลังเป็น
หรือเป็นแล้วให้ปฏิบัติตัวให้ถูกต้องต่อไป ทั้งนี้ในคนที่เป็นแล้ว
ก็ควรดูแลรักษาตัวเองให้ดี และหมั่นพบแพทย์อยู่ตลอดด้วยเช่นกัน
ที่มา https://www.honestdocs.co/top-10-deadly-diseases-thai-people
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น